วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

pattaya

reserching - sin city

เดินทางไปกับสหาย 5 คน
เพื่อไปเก็บภาพและข้อมูลมาทำงาน
พัทยา เมืองที่เต็มไปด้วยกระ4 และฝรั่ง
กระ4และฝรั่ง ทำการค้ากันอย่างโจ่งแจ้ง
เรามีไกด์ 1 คน
ไกด์ทำหน้าที่ไกด์ อย่างดี นำไปดูกระ4 ทำมาหากิน
ผมว่าอัตราส่วนของ กระ4 กับคนทั่วไป ประมาน 1:3
ละลานตาเหลือเกิน นานาชาติ
คนแต่ละคนล้วนมาที่นี่ มาทำบาป มาดูคนทำบาป
ผมก็เหมือนกัน เพื่อนผมก็เหมือนกัน
พวกเราสัมผัสทั้งความสนุกสนานยามกลางวัน และความสำราญยามค่ำคืน
จนลืมงาน.......................................

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ฟัค ดา บล๊อค


Sagmeister Talking

กราฟฟิกดีไซน์ในแบบของ Stefan Sagmeister

ในความคิดของสเตฟาน แซกไมสเตอร์ กราฟฟิกดีไซน์คือภาษาพิเศษที่มีพลังดึงดูดผู้คนได้ในเวลาอันสั้น
ฉะนั้นเขาจึงให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดของการออกแบบ ตั้งแต่ความหมายไปจนถึงรูปแบบ
และวิธีการนำเสนอในงานชุมนุมทางความคิด “Creativities Unfold, Bangkok 2007 – 2008” ณ กรุงเทพมหานคร
สเตฟาน แซกไมสเตอร์เล่าถึงชีวิตการทำงานและผลงานต่างๆ ของเขาในอดีต ซึ่งทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงนัยสำคัญ
เบื้องหลังความงามและปรัชญาการทำงานของชายคนนี้

ประสบการณ์และผลงานใน
ชีวิตของเขาปรับเปลี่ยนและเติบโตตามวันเวลา แซกไมสเตอร์เล่าถึงชีวิตนักออกแบบของเขาใน5 ประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. การออกแบบเพื่องานดนตรี
2. การออกแบบเพื่อสังคม
3. การออกแบบสำหรับองค์กร
4. การออกแบบให้ศิลปิน และ
5. ออกแบบอย่างนักประพันธ์
ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2000 แซกไมสเตอร์ อิงค์ ทำงานออกแบบให้กับอุตสาหกรรมดนตรีเป็นหลัก
เขาเคยออกแบบปกอัลบั้มและโปสเตอร์ให้กับวงดนตรีชื่อดังระดับโลก
อย่างเดอะ โรลลิ่ง สโตนส์ โลว์ รีด หรือเดวิด เบิร์นมาแล้ว แต่ในช่วงใกล้สิ้นสหัสวรรษที่ผ่านมา
แซกไมสเตอร์หันมาให้ความสนใจกับการออกแบบเพื่อสังคม เขาเลือกที่จะหันหลังให้ธุรกิจ
และอุทิศเวลาหนึ่งปีเต็ม (ปี ค.ศ. 2000) ให้กับการทดลองด้านการออกแบบของตนเองและเพื่อนๆ
ตลอดหนึ่งปีนั้น แซกไมสเตอร์ทำงานออกแบบเพื่อสังคมหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบโลโก้ใหม่ให้กับมิวสิคเซ็นเตอร์ในประเทศโปรตุเกส
งานโครงการรณรงค์ให้รัฐบาลสหรัฐแปรงบสนับสนุนจากกองทัพมาให้ภาคการศึกษาแทน
หรืองานออกแบบหนังสือเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เป็นต้น
หลังจากปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา แซกไมสเตอร์กลับเข้าสู่โลกธุรกิจ และแซกไมสเตอร์ อิงค์ก็กลับสู่ความนิยมอีกครั้ง
พวกเขาทำงานให้กับลูกค้ามากมายหลายประเภท ผลงานใหม่ๆ
มีทั้งงานออกแบบสำหรับองค์กร งานโลโก้ งานหนังสือ และงานโฆษณา
ต่อมาไม่นาน แซกไมสเตอร์ก็มีโอกาสทำงานออกแบบให้กับศิลปินหลายๆ คน
เขาเผยกับผู้ฟังว่า อาจเป็นเพราะด้วยวัยวุฒิที่สูงขึ้น
บวกกับโอกาสที่ได้ไปพิพิธภัณฑ์และแกลเลอรี่บ่อยครั้ง เขาจึงตัดสินใจลองทำงานให้กับศิลปินดูบ้าง เพราะในขณะนั้น
เขาเองก็สนใจในโลกศิลปะอยู่ไม่น้อย ส่วนในหัวข้อออกแบบอย่างนักประพันธ์นั้น
แซกไมสเตอร์กล่าวว่าในช่วงหลังๆ นี้ เขาใช้ถ้อยคำและภาษาในงานออกแบบมากขึ้น
แซกไมสเตอร์จดบันทึกเรื่องราวเพื่อย้ำเตือนสิ่งที่คิดและอยากทำ
อยู่เสมอ ซึ่งข้อความในสมุดบันทึกเหล่านี้เองที่กลายมาเป็นผลงานออกแบบชิ้นโบว์แดงของเขาในเวลาต่อมา
เมืองปารีสเคยขอให้แซกไมสเตอร์ออกแบบอะไรก็ได้ลงบนบิลบอร์ดที่ร้างอยู่จำนวนหนึ่ง
โจทย์ข้อเดียวคือให้เป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้คนที่สัญจรอยู่ในละแวกนั้น
แซกไมสเตอร์คัดเลือกข้อความจากสมุดบันทึกของเขาและลองนำเสนอมันด้วยวิธีการใหม่
เขาใช้การถ่ายภาพนำเสนอถ้อยคำเหล่านั้นบนบิลบอร์ด ผลปรากฎว่าสาธารณะชนให้การตอบรับดีมาก
มีการทำซ้ำอีกหลายรอบในหลายๆ เมือง ประเทศสิงคโปร์ก็เคยทำงาน
ในลักษณะเดียวกันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางสังคมและกระตุ้นมุมมองใหม่ในชีวิตของชาวสิงคโปร์
ในช่วงท้ายของการบรรยาย แซกไมสเตอร์พูดถึงเทคนิคที่เขานำมาใช้ในงานออกแบบบ่อยครั้ง
ความน่าสนใจอยู่ที่ว่ามันเกี่ยวข้องกับทฤษฎีการรับสารด้วย
“กราฟฟิกดีไซน์นั้นต่างจากภาพยนตร์และงานเขียนอยู่มาก ผู้รับสาร
ของเราจะสนใจสิ่งตรงหน้าแค่เพียงไม่นาน เหมือนเวลามีคนยื่นนามบัตรให้คุณ
คุณจะมองผ่านมันเพียงแว้บเดียวเท่านั้น แล้วก็เก็บใส่กระเป๋า หรือถ้าเป็นหน้าเว็บไซต์ คุณก็อยู่กับมันแค่นาทีสองนาทีเอง”
“ภายในเวลาสั้นๆ ตรงนั้น เราต้องดึงความสนใจจากผู้รับสารให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นนามบัตร หนังสือ หรืออะไรก็ตาม
อาจจะออกแบบให้มันเคลื่อนไหวได้ มีรูปร่างหน้าตาที่ไม่ธรรมดา ทำยังไงก็ได้ให้ผู้คนใช้เวลาอยู่กับผลงานนานขึ้นกว่าปกติ
จริงๆ กลเม็ดเรียกความสนใจมันก็มี หลายอย่างนะ มุขตลกหรือการแกล้งให้ตกใจก็เป็นวิธีหนึ่ง
แต่สำหรับ ผมแล้ว ผมชอบให้คนมีส่วนร่วมในการรับชมผลงานของผมมากกว่า” แซกไมสเตอร์กล่าวปิดท้าย

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

biography : STEFAN SAGMEISTER




Thai Subtitle

1962 เกิดที่ Bregenz, Austria ทางบ้านทำการค้าด้านแฟชั่น เขาเริ่มเข้าไปศึกษาในโรงเรียนประจำท้อง
ถิ่นที่เกี่ยวกับวิศวกรรม Dornbirn
1981 เขาได้ย้ายไปเรียนต่อด้าน graphic design ที่ university of applied arts in Vienna
1984 เขาได้ออกแบบของ Vienna’s Schauspielhaus theatre ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จในการช่วย
เหลือ the Ronacher music hall จากการรื้อถอน
1985 จบการศึกษาปริญญาปีชั้น 1 และได้เงินรางวัลอีก 1,000$ จาก the City of Vienna
1987 เขาเริ่มต้นใช้ชีวิตที่ New York และได้ในทุนการศึษาของเขาเพื่อเข้าไปเรียนที่ Pratt Institute
1990 เขาได้กลับบ้านเกิดที่ Vienna อีกครั้งเพื่อรับใช้ชาติ เข้าได้เกณฑ์ทหารและได้ทำงานในเขตผู้ลี้ภัย
และได้ออกแบบโปสเตอร์สำหรับงานเทศกาล Nickelsdorf jazz
1991 ย้ายไปอยู่ที่ Hongkong เพื่อเข้าไปทำงานในบริษัทของ Leo Burnett
1992 มีคนมาโต้วิภาควิจารณ์งานประกวดโปสเตอร์ของเขาที่ชื่อว่า bum-bearing 4As

bum-bearing 4As

1993 เขาได้กลับไปที่ New York (via Sri Lanka)อีกครั้ง เพื่อทำงานกับ Tibor Kalman ที่บริษัทM&Co
หลังจากนั้นอีก6เดือนต่อมา Kalman ได้ปิดบริษัทM&Co ลงไป แต่ Sagmeister ก็เปิดสตูดิโอของ
ตัวเองขึ้นมา
1994 เขาได้คิด Identity ให้บริษัทลูกพี่ลูกน้องของเขาที่ชื่อ Martin’s jeans stores และได้เสนอชื่อเข้าชิง
ตำแหน่ง Grammy Award เพื่อใช้คลุม H. P. Zinker’s Mountains of Madness
1995 ร่วมมือกับ David Byrne ซึ่งได้ออกแบบปกอัลบั้มของ David Byrne (Afropea compilation
album)

1996 เขาเริ่มงานแรกกับ Lou Reed วางแผนทำปกอัลบั้ม Set the Twilight Reeling นอกจากนั้นในปีนี้
เขาได้รับชื่อเสียงคู่กับงานโปสเตอร์ของ AIGA ที่มีชื่อว่า Fresh Dialogue talks

Fresh Dialogue talks


Set the Twilight Reeling


1997 เขาก็ได้ออกแบบโปสเตอร์ของ AIGA ที่มีชื่อว่า Headless Chicken โดยทาง AIGA จะจัดงานขึ้น
ทุกๆ2ปี ที่ New Orleans และเขาได้ออกแบบกราฟฟิกสำหรับ David Byrne’s Feelings และ
Rolling Stones’ Bridges to Babylon

David Byrne’s Feelings





Rolling Stones’ Bridges to Babylon


1999 Sagmeister ได้เอามีดสลักข้อความทั่วตัวของเขา สำหรับบรรยายใน AIGA ที่ Cranbrook ใกล้กับ Detroit

Poster for AIGA lecture in Cranbrook,Michigan

2000 เขาได้หยุดทำงานในปีนี้ เพื่อวางแผนทำงานทดลองงานต่างๆ
2001 เขาก็ได้เปิดสตูดิโอของเขาอีกครั้ง เพื่อจัดพิมพ์หนังสือของเขา Sagmeister: Made You Look

Sagmeister: Made You Look

2003 เขาได้ออกแบบ Boxed Set ที่พูดในหัวเรื่อง Once in a Lifetime
2004 เขาได้ไปเป็นวิทยากรที่ Berlin และเขายังได้เผยความลับของ “Trying to look good limits my life” ซึ่งเป็นเรื่องราวในภาพต่างๆ